โครงการประชุมวิชาการระดับชาติด้านการบริหารจัดการ ครั้งที่ 15 ประจำปี 2566
วันที่ 27 พฤษภาคม 2566
คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
***************************
หลักการและเหตุผล
คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ก่อตั้งขึ้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517 โดยมุ่งเน้นการขับเคลื่อนผลิตบัณฑิตที่มีความเชี่ยวชาญด้านบริหารธุรกิจ บริหารรัฐกิจ และบุคลากรวิชาชีพ (บัญชี) ที่มีคุณภาพโดยยึดถือประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่งภายใต้หลักสูตรที่ทันสมัยมุ่งสู่ความเป็นสากล ด้วยบุคลากรที่หลากหลายสาขาวิชาที่มีศักยภาพ พร้อมทรัพยากรที่เกื้อหนุน ส่งเสริม และสนับสนุนความร่วมมือ การสร้างเครือข่ายองค์กรวิชาชีพ และการแก้ปัญหาของสังคมและชุมชนด้วยทำเลที่ตั้งในศูนย์กลางเศรษฐกิจภาคใต้ โดยมีวิสัยทัศน์ คือ สถาบันการศึกษาชั้นนำระดับประเทศด้านการจัดการ พร้อมกับพันธกิจในการสร้างบัณฑิต นักบริหาร และผู้ประกอบการที่มีภาวะผู้นำ มีสมรรถนะดิจิทัล มีความคิดสร้างสรรค์ เพื่อประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์ ด้วยหลักสูตรที่ได้รับรองมาตรฐานสากล ตลอดจนสร้างงานวิจัย พัฒนานวัตกรรมด้านการจัดการ และบริการวิชาการ ในการขับเคลื่อนชุมชนและสังคมสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน
ทั้งนี้ เพื่อให้บรรลุถึงวิสัยทัศน์และพันธกิจดังกล่าว คณะวิทยาการจัดการจึงได้ส่งเสริมให้อาจารย์ บุคลากร และนักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาสร้างงานวิจัยที่สามารถนำไปพัฒนาองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการใหม่ ๆ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการบริหารธุรกิจและการจัดการอย่างต่อเนื่อง ทั้งในระดับองค์กร ชุมชน และประเทศ การจัดการประชุมวิชาการด้านการบริหารธุรกิจและการจัดการจึงนับได้ว่าเป็นเครื่องมือที่สำคัญอย่างหนึ่งที่คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ใช้เป็นช่องทางในการส่งเสริมให้เกิดการพัฒนางานวิจัยและเผยแพร่องค์ความรู้ รวมทั้งยังเป็นเวทีสำหรับการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และสร้างเครือข่ายหรือความร่วมมือระหว่างผู้เข้าร่วมประชุมสัมมนาที่มาจากสถาบันการศึกษาต่าง ๆ หน่วยงานภาครัฐ และองค์กรภาคธุรกิจจากทั่วประเทศ ที่ผ่านมาคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้จัดการประชุมวิชาการระดับชาติด้านการบริหารจัดการ (National Conference on Administration and Management: NCAM) มาแล้ว 14 ครั้ง สำหรับในปี พ.ศ. 2566 นี้ ถือเป็นการจัดประชุมฯ ครั้งที่ 15 ซึ่งในการประชุมวิชาการระดับชาติด้านการบริหารจัดการ ครั้งที่ 15 นี้ จัดขึ้นภายใต้หัวข้อ (Theme) “นวัตกรรมการจัดการสู่การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและสังคม” ทั้งนี้ เพื่อให้นักวิจัยด้านการบริหารจัดการได้ตระหนักถึงบริบททางธุรกิจและสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงภายหลังการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบให้รายได้จากการท่องเที่ยวและการส่งออก ซึ่งเป็นรายได้สำคัญของประเทศหายไปอย่างฉับพลัน ผู้ประกอบการรายย่อยขาดกำลังทุน และประชาชนขาดกำลังซื้อ การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจไทยจึงต้องหันมาสร้างความเข้มแข็งภายในประเทศ หรือการสร้างรากฐานให้มั่นคงด้วยการเปลี่ยนวิกฤติไวรัสโควิด-19 ให้เป็นโอกาสในการสร้างเศรษฐกิจฐานรากในระดับท้องถิ่นและชุมชน และทำให้เกิดการเติบโตอย่างยั่งยืนผ่านการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตภาคเกษตรหรือปรับเข้าสู่เกษตรแปลงใหญ่ และเกษตรสมัยใหม่ การแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่า อุตสาหกรรมอาหารและเศรษฐกิจบนฐานชีวภาพ BCG รวมทั้งการพัฒนาการท่องเที่ยวและบริการเชิงสร้างสรรค์ที่มีคุณภาพสูง ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัญหาที่สำคัญของประเทศ ที่ต้องเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ทั้งปัญหาโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมไทยเพื่อหาแนวทางในการฟื้นฟูและปรับโครงสร้างให้กลับมาเติบโตได้อย่างยั่งยืนต่อไป
กำหนดการ
- ขยายเปิดรับบทความ ตั้งแต่บัดนี้ - 15 มีนาคม 11 เมษายน 2566
- แจ้งผลการพิจารณาบทความ ภายในวันที่ 10 เมษายน 27 เมษายน 2566
- ส่งบทความฉบับแก้ไข ภายในวันที่ 17 เมษายน 2 พฤษภาคม 2566
- จัดการประชุมวิชาการ วันที่ 27 พฤษภาคม 2566
การจัดการประชุมวิชาการด้านการบริหารจัดการ ครั้งที่ 15 ประจำปี 2566 มีวัตถุประสงค์ในการจัดงาน ดังนี้
1) เพื่อเป็นเวทีให้กับนักวิจัยในการนำเสนอและเผยแพร่ผลงานวิจัยด้านการบริหารธุรกิจและการจัดการในระดับประเทศ
2) เพื่อส่งเสริมการพัฒนางานวิจัยที่ก่อให้เกิดนวัตกรรมด้านการบริหารธุรกิจและการจัดการ และการประยุกต์ใช้ผลการวิจัยให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาการบริหารธุรกิจ การจัดการองค์กร และช่วยพัฒนาสังคมโดยรวมให้ดียิ่งขึ้น
3) เพื่อเป็นช่องทางให้กับผู้เข้าร่วมการประชุมฯ ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ อันจะช่วยส่งเสริมการสร้างความร่วมมือหรือเครือข่ายวิจัย วิชาการ หรือวิชาชีพในอนาคตได้อีกทางหนึ่งด้วย
ลักษณะกิจกรรม
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการบริหารจัดการ ครั้งที่ 15 ประจำปี 2566 เป็นการจัดประชุมฯ ในรูปแบบออนไลน์ เพื่อให้นักวิจัยได้นำเสนอผลงานวิจัยด้านการบริหารจัดการในสาขาวิชาต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
1) สาขาวิชาการบัญชี/การเงิน
2) สาขาวิชาการตลาด
3) สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์
4) สาขาวิชาระบบสารสนเทศ
5) สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยว/MICE
6) สาขาวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรธุรกิจ
7) สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์/บริหารรัฐกิจ
8) สาขาวิชาการจัดการทั่วไป
การรับพิจารณาบทความ
1. ทางงานประชุมวิชาการฯ เปิดรับพิจารณาบทความที่เป็นบทความวิจัยเท่านั้น ซึ่งเป็นบทความวิจัยที่ทำการวิเคราะห์ข้อมูล มีผลการวิจัย การสรุป อภิปรายผล
และข้อเสนอแนะเรียบร้อยแล้วเท่านั้น (ไม่รับบทความที่เป็นโครงร่างการวิจัย (Proposal) และบทความวิชาการ (Review Article))
2. ทางงานประชุมวิชาการฯ เปิดรับพิจารณาบทความเฉพาะที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์ นักวิจัย และนักศึกษาในระดับปริญญาโทและปริญญาเอกเท่านั้น
โดยไม่ได้เปิดรับพิจารณาบทความที่สืบเนื่องมาจากการศึกษาของนักศึกษาระดับปริญญาตรี
กรณีที่พบว่าบทความไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนด หรือไม่ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ ทางงานประชุมวิชาการฯ สามารถปฏิเสธการพิจารณานำเสนอบทความได้ทันที ไม่ว่าบทความนั้นจะอยู่ในกระบวนการใดก็ตาม และจะไม่คืนเงินค่าลงทะเบียนดังกล่าว
ผลงานที่ได้รับการตอบรับให้นำเสนอนั้น เจ้าของผลงานจะต้องเข้าร่วมการนำเสนอผลงานในวันจัดงานประชุมวิชาการระดับชาติด้านการบริหารจัดการด้วย โดยผลงานที่ผ่านการนำเสนอในวันดังกล่าวจะได้รับการเผยแพร่ในรายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการ หรือ Proceedings ซึ่งเผยแพร่ในรูปแบบของผลงานฉบับเต็ม (Full Paper)